How Adam Smith can change your life — พลิกชีวิต คิดอย่างอาดัม สมิธ— Russ Robert
หนังสือเล่มนี้เขียนโดนอิงจากการอ่านทฤษฎีว่าด้วยความคิดและศีลธรรม(the theory of moral sentiments)ของอาดัม สมิธ ซึ่งสามารถอ่านฟรีได้ที่ econlib.org
วิชาเศรษฐศาสตร์สอนให้เรารู้ว่าการตัดสินใจเลือกบางอย่าง จะต้องแลกกับอะไรบางอย่างไป เศรษฐศาสตร์เป็นการศึกษาวิธีใช้ชีวิตให้คุ้มค่าที่สุด
คนเรามักเห็นตัวเองเป็นศูนย์กลางจักรวาล อาจะเรียกได้ว่า กฏเหล็กเรื่องตัวคุณ ทำไมคนอื่นตอบเมลของเราช้าจังนะ แต่เราลืมไปว่าเมลของเราเป็นแค่หนึ่งในกองเมลมากมาย ของคนที่รับเมล ซึ่งเมลของเราก็อาจจะไม่ได้สำคัญต่อคนรับขนาดนั้น
หากพรุ่งนี้เรามีการผ่าตัดแม้จะเป็นแค่การผ่าตัดนิ้วก้อยของเราก็ยังทำให้เราคิดมาก มากกว่าข่าวภัยพิบัติการเสียชีวิตนับล้านของคนไม่รู้จักเสียอีก
เรารักตัวเราก็จริง แต่บางครั้งเราก็ไม่ได้ทำเพื่อตัวเอง เพราะเรามีภาพลักษณ์ผู้ดูที่เป็นกลางอยู่ในหัว ผู้ดูที่เป็นกลาวนี้เราสร้างขึ้นมาเองจะเป็นคนพิจารณาศีลธรรมว่าอะไรคือสิ่งที่ถูกต้อง อะไรคือสิ่งที่ควรทำ
แม้เราจะไม่ได้รักคนอื่นเท่าตัวเอง แต่เราก็มีความปราถนาให้คนอื่นยอมรับ เราทำเรื่องน่าสรรเสริญและสูงส่งเพื่อตอบสนองมาตรฐานผู้ดูที่เป็นกลางตั้งขึ้นมา
หากอยากทำให้ชีวิตดีขึ้น คุณก็ต้องใส่ใจ เมื่อคุณใส่ใจคุณจะสามารถจำได้ว่าอะไรคือสิ่งสำคัญ
สร้างความสุข
สมิธกล่าวว่า ส่วนหลักของความสุขคือรู้ว่าตนเป็นที่รัก ใครก็อยากเป็นที่รัก และเป็นคนที่น่ารัก
เราล้วนชอบคำชม แต่หากเราได้คำชมที่ไม่สมควรได้ คำชมในงานที่เราไม่ได้ทำ เช่น คำชมจากงานจิตอาสาว่าเป็นคนใจกว้างทั้ง ๆ ที่ไม่ได้ทำอะไร คำชมที่ไม่สมควรได้นี้เหมือนคำตำหนิ เป็นเครื่องเตือนใจว่าเราควรจะเป็นคนดีกว่านี้เพื่อให้ได้รับคำชมนั้น
ระวังคำชมจอมปลอม เช่น ก่อนออกเกรดคนเขียน(Russ Robert)กล่าวว่ามักจะได้คำชมว่าสอนดีมากกว่าหลังออกเกรดเสมอ เมื่อเป็นเจ้านายแล้วปล่อยมุกตลก มุกตลกจะตลกกว่าเดิม
อย่าหลอกตัวเอง
คุณไม่ได้น่ารักอย่างที่คุณคิดว่าคุณเป็น
บางครั้งนอกจากเราจะทำสิ่งที่ผิดไปแล้ว เรายังหลอกตัวเองให้เชื่อว่าสิ่งที่ผิดคือสิ่งที่ถูก เช่นลูกขอให้ช่วยการบ้านเลข แต่บางครั้งคนเขียน(Russ Robert)ก็หาข้ออ้างถ้าเขียนหนังสือออกมาดีเดี๋ยวลูกก็ได้เข้ามหาวิทยาลัยดี ๆ เองแหละ ไม่ต้องช่วยสอนการบ้านก็ได้
เรามีอคติการยืนยันเราละเลยหลักฐานที่ปฏิเสธสิ่งที่เราเชื่อ และยอมรับหลักฐานที่ยืนยันสิ่งที่เราเชื่อง่ายเกินไป
เราควรมีการตระหนักถึงขีดจำกัด และยอมรับว่าไม่รู้ออกมา เราควรมีความถ่อมตัวไม่แสดงตัวว่ารู้ทุกอย่าง
ทำตัวให้เป็นที่รัก
ทำไมเราถึงอยากเป็นคนรวยและมีชื่อเสียง? เพราะคนที่รวยและมีชื่อเสียงมักเป็นที่รัก
ราคาแห่งความมั่งคั่งคุ้มค่าที่จะจ่ายหรือไม่ ? บางครั้งเงินทองก็หลอกล่อเรา ยั่วยุให้เราทำสิ่งที่รู้อยู่ลึก ๆ ว่าไม่ใช่สิ่งที่เราต้องการอยู่จริง ๆ
พระราชาพีรุสต้องการไปโจมตีและครอบครองประเทศอีตาลี แต่คีเนียสทูลถามว่า เมื่อพระองค์ได้ครอบครองแล้วจะทำอย่างไรต่อ ? ลิเบียกับคาร์เธจก็จะเป็นรายต่อไป หลังจากนั้นล่ะ?
“เราจะก็จะใช้ชีวิตสบาย ๆ สหายรัก ร่ำสุราทั้งวัน และคุยแต่เรื่องชวนยินดี”
“แล้วสิ่งใดเล่าเป็นอุปสรรคขัดขวางมิให้พระองค์กระทำการเช่นนั้นได้ในตอนนี้?”
เรามีความสุขอยู่แล้วในกำมือ แต่เราก็อยากได้โน่นนี่เพราะคิดว่าจะสร้างความสุขให้เราได้
บางครั้งเราไม่ได้ซื้อ gadget ที่ออกใหม่เพราะมันช่วยให้ชีวิตของเราดีขึ้น เรามักสนใจความโก้หรูมากกว่า
การไล่ล่าเงินทอง ชื่อเสียงหรืออำนาจ คือส่วนหนึ่งของสิ่งล่อใจแบบเดียวกัน มันคือเส้นทางสู่เพื่อให้ตนเป็นที่รัก ความสนใจที่ผู้อื่นมอบให้นี่เองผลักดันให้ผู้คนแสวงหาความมั่งคั่ง
ถ้าทำได้ให้ทำในสิ่งที่รัก ทำสิ่งที่คุณเคารพ และจงเป็นสุขหากทำสิ่งนั้นแล้วสามารถเลี้ยงครอบครัวได้ อะไรก็ตามที่มากกว่านั้นเป็นผลพลอยได้
ทำไมการได้ใกล้ชิดเซเลปเป็นความสุข เพราะเราได้เห็นเรื่องน่าทึ่งของคนเหล่านี้ในทีวี และคิดว่าคนๆนี้เป็นที่รัก จินตนาการว่าชีวิตเค้าคงสมบูรณ์แบบ การอยู่ใกล้คนที่เป็นที่รัก ซึ่งน้อยคนจะมีโอกาสนี้ทำให้หัวใจพองโต
การจะเป็นที่รักมีสองทางด้วยกัน ทางแรกคือต้องรวย ต้องดัง และมีอำนาจ ทางที่สองคือการเป็นผู้ทรงปัญญาและความดี
สมิธแนะนำว่าแบบสองไม่หวือหวาเท่าแบบแรก แต่แนะนำให้เป็นแบบสอง
ทำตัวให้น่ารัก
มาตรการขั้นต่ำคือดูตามความเหมาะควร(ทำตัวตามความเหมาะสม)
เก็บความโกรธไว้หนึ่งวันก่อนจะทำอะไร บางครังเป็นเรื่องดีที่จะเขียนความอัดอั้นของเราออกมาโดยไม่จำเป็นให้ใครรู้
ในชีวิตคนเรามีความสนิทกับคนหลายขั้น บางคนเป็นคนรู้จักบางคนเป็นคนสนิท
เราสามารถเล่าเรื่องความทุกข์ครั้งใหญ่ให้เพื่อนฟัง และจะรู้สึกสบายใจขึ้น แต่ถ้าเราเล่าความทุกข์ครั้งเล็ก ๆ น้อย ๆ ฟังบ่อยเข้า ความทุกข์ของเราอาจจะเรื่องขำขันในความคิดเพื่อนไป
เราควรเล่าเรื่องความสุขเล็ก ๆ รายวันให้เพื่อนฟังได้อย่างสบายใจ แต่หากเป็นเรื่องความสุขใหญ่ ๆ การเล่าให้เพื่อนฟังอาจทำให้เกิดความริษยาได้ คนประความสำเร็จจะไม่โฆษณาโชคของตน การถ่อมเนื้อถ่อมตัวไม่เล่าเรื่องประสบความสำเร็จมากนักจะดีกว่า
เป็นคนดี
ความดีมีเสาหลักสามอย่าง ความสุขุมรอบคอบ, ความยุติธรรม (ไม่ทำร้ายคนอื่น) และกุศลกรรม (การทำดีกับคนอื่น)
ผู้ที่สุขุมรอบคอบจะจริงใจและซื่อสัตย์ สงวนท่าทีการพูดจาและการกระทำ คบเพื่อนที่น่าเคารพ มีความถ่อมตัว ดุลยพินิจ และความประฤติดี
ความยุติธรรมคือการไม่ทำในสิ่งที่คุณไม่อยากให้คนอื่นทำกับคุณ การทำร้ายคนอื่นเพื่อตัวเองเป็นเรื่องที่รับไม่ได้ สมิธยกตัวอย่างการขโมยและคบชู้ แม้คนรวยจะไม่รู้ว่าโดนขโมยอะไรไปบ้าง แม้การเป็นชู้กับภรรยาเพื่อน แล้วเพื่อนไม่รู้ เป็นเรื่องผิดแน่นอน การอ่อนข้อทำเรื่องนี้ซักครั้ง เรื่องไม่ดีอื่น ๆ เราก็จะหาข้อยกเว้นทำจนได้
กุศลกรรมนั้นวัดยาก และคลุมเครือ เช่นความกตัญญู ถ้าเราเคยยืมเงินใครมา 1000 บาท เมื่อคนนั้นขัดสนเราควรให้เงินยืมเท่าไร? ควรช่วยแค่ไหน? เมื่อไร? ถ้ามีคนลำบากมาขอยืมเงินหลายคน เราควรให้คนไหน? ควรให้คนละเท่าไร? เรื่องแบบนี้ไม่สามารถวัดได้
ทำให้โลกน่าอยู่ขึ้น
คำตอบของสมิธเรียบง่ายมาก การทำงานให้ดีขึ้นก็เป็นช่วยเหลือคนอื่นและทำให้โลกน่าอยู่ขึ้น
การทำตัวให้ไว้วางใจได้ ให้เกียรติคนท่าน่าไว้วางใจ เป็นเพื่อนที่ดี อย่านินทา อย่ายิงมุกตลกที่ไปทำร้ายคนอื่น
เมื่อเผชิญภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออกทางศีลธรรมให้คิดว่าโลกจะเป็นยังไง ถ้าทุกคนทำแบบเดียวกัน
อย่าทำตัวเป็นบุรุษเจ้าระบบ เป็นคนที่ปั้นสังคมตามที่ตัวเองเชื่อ สายตามืดบอดไม่เห็นว่าใครจะเสียหายจากสิ่งที่เกิดขึ้นบ้าง